Month: May 2019

นายกนักประดิษฐ์ เตือน AI กำลังพัฒนาให้มีความสามารถเกินมนุษย์

“นายกนักประดิษฐ์” เตือน AI กำลังจะพัฒนาให้มีความสามารถ “เกินกว่ามนุษย์” วอนหาวิธีการควบคุมก่อนจะเกิด “นักฆ่าแห่ง AI” ทำลายชีวิตมนุษย์เป็นจำนวนมาก 

นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ นายกสมาคมนักประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงประเด็นการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตมนุษย์ว่า ปัญญาประดิษฐ์ คือการสร้างความฉลาดให้กับสิ่งไม่มีชีวิต เพื่อให้สามารถคิด ทำงาน และเรียนรู้ได้เอง โดยมีจุดประสงค์หลักก็ทำเพื่อให้มันสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ ซึ่งมีการแบ่งหรือจำแนก AI ออกมาเป็น 3 แบบ คือ Weak AI ซึ่งเป็น AI ที่มีระดับระดับสติปัญญาที่มีความสามารถในการทำงานได้ในเรื่องแคบๆ อยู่ในวงจำกัด เรื่องใดเรื่องหนึ่ง Strong AI ซึ่งมีสติปัญญาเทียบเท่ามนุษย์ โดยจะมีความสามารถในการเรียนรู้ วางแผน การแก้ปัญหา รู้จักคิดในเชิงนามธรรม มีความคิดที่สลับซับซ้อน และระดับ ซุปเปอร์ปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะฉลาดและมีปัญญามากกว่าสมองมนุษย์ที่ดีที่สุดในทุกๆ ด้าน รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ในทางวิทยาศาสตร์ เรื่องทั่วๆ ไปแม้กระทั่งความสามารถในการเข้าสังคม

ซึ่ง AI 2 แบบหลังนี้ ตนเห็นว่าจะสร้างปัญหาให้กับมนุษย์โดยส่วนรวม เนื่องจากขณะนี้ระบบปัญญาประดิษฐ์เริ่มพัฒนาไปไกลถึงขนาดที่ว่า มีการประดิษฐ์หุ่นยนต์ AI และพูดคุยกับระบบปัญญาประดิษฐ์ด้วยกันเอง เข้าใจกันเอง โดยที่ใช้ภาษาที่ประดิษฐ์ขึ้นมากันเอง เพราะจากเดิมที่มนุษย์เป็นคนสอน AI ตอนนี้ AI ก็สอนก็เรียนรู้กันเองได้ และในอนาคต AI อาจจะเก่งถึงขั้นมีจินตนาการและมีความรู้สึกนึกคิดได้เหมือนมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้กระทบกับคนไทยไร้ฝีมือแรงงาน มีความสามารถน้อยกว่า AI จะต้องตกงานอีกมากในอนาคตอันใกล้นี้

“ต้องยอมรับว่าระบบ AI สร้างประโยชน์ให้กับมวลมนุษย์ไม่น้อย หลายอุตสาหกรรมใหญ่ในโลกต้องพึ่งพาระบบ AI ทั้งนี้ สตีเฟน ฮอว์กกิ้ง นักวิทยาศาสตร์ของโลก เคยคาดการณ์ไว้ว่าวันหนึ่งในอนาคต หรือ AI จะเข้ามามีบทบาทกับคนทั้งโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะมันคือสิ่งประดิษฐ์ที่สุดยอดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ แต่เมื่อถึงยุคนึงมนุษยชาติอาจจะถึงจุดจบ เหตุผลเพราะเมื่อ AI เหล่านี้ถูกพัฒนาไปจนถึงขีดสุด มันจะไม่ต้องพึ่งพามนุษย์อีกต่อไป ซึ่งจะถือเป็นอันตรายที่ยิ่งใหญ่กว่าผลกระทบจากอาวุธนิวเคลียร์ ดังเช่น อีลอน มัสก์ นักประดิษฐ์นวัตกรรมชื่อก้องโลกได้กล่าวเอาไว้” นายภณวัชร์นันท์ กล่าว

นายภณวัชร์นันท์ กล่าวด้วยว่า หากปล่อยให้มันพัฒนาภาษาของตัวเองขึ้นเรื่อยๆ จนมนุษย์ไม่อาจเข้าใจได้ อาจนำไปสู่จุดที่มันจะขัดคำสั่งมนุษย์ได้ในที่สุด และเกิดการทำร้ายมนุษย์ เพราะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ในการทำงาน ไม่ได้มีการใส่จิตใจลงไปในนั้น สิ่งเหล่านี้มีหลายชาติยังมีการพัฒนาต่อเนื่อง และประเทศของเราผู้บริหารระดับสูงยังไม่ศึกษาแต่กลับกลัวว่าตนเองไม่ทันสมัย เพราะฉะนั้นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด แม้แต่มนุษย์ด้วยกันยังควบคุมกันเองไม่ได้ แล้วมนุษย์จะควบคุมหุ่นยนต์อัจฉริยะได้อย่างไร

“เหรียญมี 2 ด้าน ปัญญาประดิษฐ์ก็เหมือนกัน ซึ่งอาจพัฒนาความรู้แบบก้าวกระโดดสามารถสร้างคุณประโยชน์มหาศาลให้แก่มวลมนุษยชาติ หรืออาจเป็นภัยที่คุกคามสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ เพราะฉะนั้นมนุษย์เราน่าจะเรียนรู้ ปรับตัว มีการระดมความคิดจากภาคส่วนต่างๆ ทั่วโลก เพื่อควบคุม วางแผน และออกแบบให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันกับ AI ได้อย่างสมดุลและสร้างสรรค์ แล้วนำความรู้ต่างๆ ที่เกิดจากพัฒนาการความารถของ AI กลับมาสร้างคุณประโยชน์ให้แก่มวลมนุษย์เอง ดังนั้นผมอยากให้มอง AI เป็นเครื่องมือที่ทันสมัยที่มาพร้อมกับอันตราย เนื่องจากวันนี้ AI คือหุ่นยนต์ยังไม่มีความอยากเป็นของตัวเอง แค่ปฏิบัติตามคำสั่งของมนุษย์ แต่ถ้าวันหนึ่งมนุษย์สามารถพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถมีอารมณ์และความอยากทำลายล้างมนุษย์ มันก็อาจจะเป็นภัยร้ายของเราก็ได้ สำหรับประเทศไทย ควรมีกฎหมายห้ามพัฒนาหุ่นยนต์เพชฌฆาต และการพัฒนาควรมีกฎหมายควบคุมไม่ใช่ปล่อยอิสระ เพราะหากการพัฒนาและเกิดความผิดพลาด นักฆ่าแห่ง AI จะปรากฏตัวขึ้นพร้อมความตายที่มีจำนวนมาก” นายภณวัชร์นันท์ กล่าว.

ขอบคุณข่าวจาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1576361

‘นายกสมาคมนักประดิษฐ์ฯ’ แนะอย่าใช้เกณฑ์ของต่างชาติ มากีดกันผลงานนักประดิษฐ์ไทย

นายกสมาคมนักประดิษฐ์ฯ’ แนะอย่าใช้เกณฑ์ของต่างชาติ มากีดกันผลงานนักประดิษฐ์ไทย – ชี้ หน่วยงานของรัฐ ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนไทย ในการนำนวัตกรรมไปสู่ระดับโลก และพัฒนาธุรกิจภายในประเทศ เพื่อก้าวให้พ้น ‘กับดักรายได้ปานกลาง’

นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ นายกสมาคมนักประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งประเทศไทยและ นักประดิษฐ์ 5 เหรียญทองอัจฉริยะโลก กล่าวถึงปัญหาการใช้มาตรฐานของต่างประเทศ มากีดกันผลงานของนักประดิษฐ์ไทยว่า อย่าเอามาตรฐานต่างชาติ มาบีบกดสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของชาติไทย เพราะ เราสร้างนวัตกรรมใหม่ สร้างขึ้นเพื่อเกิดมาตรฐานใหม่ๆ เพราะเหล่านักประดิษฐ์ และนักพัฒนานวัตกรรม พวกเขาคิดค้นมาจากความพยายามและการต่อยอดมาจากสิ่งประดิษฐ์เดิม ที่ผ่านการทดสอบทดลองมาหลายครั้ง จนสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้น ประสบความสำเร็จและใช้งานได้จริง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น สร้างงาน สร้างธุรกิจ สร้างความมั่นคงให้กับประชาชน และแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในด้านศิลปะ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วย
“การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่าเป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงในเชิงลบ สินค้าและนวัตกรรมใหม่ๆ นั้น พวกเราพัฒนามาจาก สินค้าเก่า เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก เปลี่ยนแปลงทั้งความเป็นอยู่ การสร้างอาคารบ้านเรือน จากป่าสู่เมือง และเป็นมหานคร จากกาต้มน้ำร้อนใช้เตาถ่านกลายมาเป็นกาต้มนำร้อนอัตโนมัติ แน่นอนที่สุด การสร้างนวัตกรรมสินค้า กาต้มน้ำร้อนอัตโนมัติ จะต้องสร้างมาตรฐานทดสอบสินค้าใหม่ เพื่อให้มีมาตรฐาน มาทดสอบ ให้สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้มีการรับรองว่า สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่เหล่านั้นใช้งานได้จริงและแก้ปัญหางานได้จริง” นายภณวัชร์นันท์กล่าว

นายภณวัชร์นันท์ กล่าวต่อว่า ดังนั้น ทางคณะกรรมการพัฒนาระบบนวัตกรรมของประเทศ (คพน.) ต้องมีหน้าที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมการนำผลงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมไทยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยจะต้องมอบหมายให้ ห้องทดสอบโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หรือ กรมวิทยาศาสตร์ บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำการรายงานและสร้างคู่มือทดสอบให้ ความสามารถของ และออกรายงาน และขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทย เพื่อส่งมอบให้ สำนักงบประมาณและให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างและประยุกต์ใช้ในกิจการของรัฐ อย่าอ้างว่าไม่มีมาตรฐาน เพราะคู่มือทดสอบของนวัตกรรมใหม่เหล่านั้นมันคือมาตรฐานใหม่ในอนาคตต่อไป ไม่ใช้นำมาตรฐานเก่าๆอาทิ เช่น UL NFPA หรือ มาตรฐานต่างชาติอื่นๆเพราะสิ่งนั้นมันเป็นนวัตกรรมของคนต่างชาติ ไม่ใช่ของชาติไทย หากหน่วยงานของรัฐ ไม่เชื่อมั่นหน่วยงานของรัฐ แล้วจะให้คนไทยเชื่อมั่นอะไรได้อีก

“การหน่วยงานของรัฐนำมาอ้าง ทั้งที่มีมติ ครม.เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2560 และมีคำสั่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2560 เวียนไปหน่วยงานราชการทุกกระทรวง ที่ นร.0505/ว 494 และกฎหมายก็ระบุชัดเจนว่า ให้ประยุกต์ใช้นวัตกรรม ให้เกิดประโยชน์ในภารกิจในหน่วยงานของรัฐเพื่อให้เกิดประโยชน์ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 69 ที่บัญญัติว่า รัฐพึงจัดให้มีและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ ให้เกิดความรู้ การพัฒนา และนวัตกรรม เพื่อความเข้มแข็งของสังคม และเสริมสร้างความสามารถของคนในชาติ ดังนั้น คณะกรรมการพิจารณาสินค้าที่ผลิตในประเทศ สมอ.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ก็เช่นกัน ควรให้การสนับสนุน นำผลการทดสอบ นวัตกรรมใหม่ที่ออกโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หรือ กรมวิทยาศาสตร์ บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อมีรายงานผลการทดสอบของหน่วยงานรัฐและกระบวนการผลิตมีการควบคุมคุณภาพโดย ระบบ มาตรฐานคุณภาพระหว่างประเทศ ISO 9001 แล้ว ก็ควรรับจดทะเบียนตามคู่มือทดสอบที่ออกโดยหน่วยงานด้วยกันเอง เพื่อให้ นวัตกรรมใหม่ๆที่คิดโดยคนไทย สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยมีคู่มือทดสอบอ้างอิงเป็นสร้างรายงานทดสอบในการขออนุมัตินำเข้าประเทศอื่น ๆ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของ WTO เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 59 ทำให้ประเทศไทยมีทั้งสิทธิ (Rights) และพันธกรณี (Obligations) ที่จะต้องปฏิบัติตามความตกลงต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงตามความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Agreement on Technical Barriers to Trade: TBT) ซึ่งเป็นความตกลงที่จะมิให้ประเทศสมาชิกใช้กฎระเบียบทางวิชาการ (technical regulations) มาตรฐาน (standards) หรือกระบวนการตรวจสอบรับรอง (conformity assessment procedures) มาเป็นอุปสรรคต่อการค้าและอุตสาหกรรม หน่วยงานของรัฐ ควรจะทราบดีกว่า การสร้างนวัตกรรมใหม่ คือ การแก้ปัญหาสินค้าเก่าๆ ที่ใช้งานแล้วมีปัญหา และใช้งบประมาณจำนวนมากแต่นวัตกรรมใหม่ ประหยัดงบประมาณและไม่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงสิ้นเปลืองงบประมาณ และ ไม่ส่งเสริมความสามารถของคนในชาติ ขัดต่อพรบ.ยุทธศาสตร์ชาติ” นายภณวัชร์นันท์กล่าว

นายภณวัชร์นันท์ กล่าวอีกด้วยว่า ในเมื่อประเทศไทยต้องการนวัตกรรมเข้ามาช่วยพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ชาติ ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ด้วยใช้ความคิดและจิตนาการของคนในชาติไทย ที่มีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม มาสร้างผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมและสินค้าใหม่ๆ เพื่อให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ เป็นการสร้างรายได้ของประเทศ ให้ขับเคลื่อนธุรกิจภายในประเทศ และส่งเสริมสินค้านวัตกรรมใหม่ในการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เพื่อต้องการให้ประเทศไทยก้าวข้าม “กับดักรายได้ปานกลาง” ด้วยการทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ทำให้ประชาชนกินดีอยู่ดีมีรายได้เพิ่มขึ้น ตนขอร้องว่า อย่าได้นำมาตรฐานต่างชาติมากดความเจริญรุ่งเรื่องของชาติไทย เพราะคนในชาติไทยเก่งไม่เคยแพ้ใครในโลก

ขอบคุณข่าวจาก https://siamrath.co.th/n/79010

สมาคมนักประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งประเทศไทย(IIAT)

สมาคมนักประดิษฐ์และนวัตกรรม แห่งประเทศไทย ใช้อักษรย่อว่า สนวก